ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกชนรดา ผู้เข้าชมสามารถเข้าชมสาระนารู้มากมายเกี่ยวกับการนำเสนอภาพกิจกรรม

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

สื่อการสอนประเภทโสตทัศนูปกรณ์
Type of Audio Visual Equipments

****************************************************

ทราบกันดีแล้วว่านักเทคโนโลยีการศึกษาได้จัดแบ่งประเภทของ สื่อการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ประเภทวัสดุ (Material or Software) ประกอบไปด้วย
• วัสดุที่เสนอได้ด้วยตัวมันเอง
• วัสดุที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ เครื่องมืออื่นเป็นตัวนำเสนอ
2. ประเภทเครื่องมือหรือโสตทัศนูปกรณ์ (Device or Hardware) และนักเทคโนโลยีการศึกษา ยังได้จัดจำแนกโสตทัศนูปกรณ์ออกไปอีกเป็น 3 ประเภทคือ
1. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง
2. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย
3. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทการรองรับ การบันทึก การจัดแสดง
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method)
1. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการสื่อสาร จากผู้ถ่ายทอดสารไปยังผู้รับสาร หรือจากสื่อที่ใช้เสียงในการเรียนรู้ ทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียงอย่างชัดเจนดียิ่งขึ้นกว่าการพูดธรรมดา และยังเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจที่ช่วยให้ผู้เรียนหรือผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
ความหมายของเครื่องเสียง เครื่องเสียงเป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาประเภทเสียงจากมนุษย์และแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ให้ดังมากขึ้นเพื่อให้ได้ระยะทางในการได้ยิน โดยมีองค์ประกอบหลักคือ ภาครับ ภาคขยาย และภาคส่งออก ซึ่งเป็นระบบการเพิ่มกำลังความดังของเสียงให้ชัดเจนและกว้างไกลมากขึ้น
ความสำคัญของ “เครื่องเสียง” เสียงคนเราโดยปกติมีความดังประมาณ 60 เดซิเบล เท่านั้น และเสียงก็ไม่สามารถขยายให้ดังขึ้นหรือเก็บรักษารูปคลื่นไว้ได้ แต่เครื่องขยายเสียงสามารถเปลี่ยนเป็นคลื่นไฟฟ้าได้โดยการอาศัยทฤษฎีการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กผ่านขดลวด เครื่องเสียงจึงมีความสำคัญในการเป็นสื่อกลางของการเพิ่มความดังของเสียง เช่น เสียงจากการบรรยาย การเรียนการสอน รวมถึงแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ด้วย
หลักการทำงานของเครื่องเสียง การเพิ่มความดังของเสียงให้สามารถได้ยินได้ฟังกันอย่างทั่วถึง มีองค์ประกอบแบ่งออกเป็น 3 ภาคได้แก่
1. ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal) ภาคที่เปลี่ยนคลื่นเสียงธรรมชาติให้เป็นพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียง ได้แก่ Microphone, CD player, Cassette tape, etc., เป็นต้น
2. ภาคขยายสัญญาณ (Amplifier) ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงมาขยายให้มีกำลังแรงมากขึ้น โดยไม่ผิดเพี้ยนจากแหล่งกำเนิดเสียง ได้แก่ เครื่องขยายเสียงประเภทต่างๆ หรืออุปกรณ์ที่บรรจุภาคขยายสัญญาณไว้ในตัว เช่น Mini component เป็นต้น
3. ภาคสัญญาณออก (Output Signal) ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง ที่ได้รับการขยายแล้วมาเปลี่ยนเป็นคลื่นเสียงธรรมชาติเหมือนต้นกำเนิดเสียงทุกประการ ได้แก่ ลำโพงชนิดต่างๆ


Slide Projector Opaque Projector
2. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย โสตทัศนูปกรณ์ประเภทเครื่องฉายได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาสาระเป็นอย่างมาก เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนประเภทสื่อโสตทัศน์ให้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชม ทำให้เห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งช่วยกระตุ้นความสนใจและช่วยให้เข้าใจเนื้อหาสาระได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ความหมายของ “เครื่องฉาย” เครื่องฉายมีลักษณะเป็นอุปกรณ์ (Hardware) เป็นสื่อกลางหรือตัวผ่านในการถ่ายทอดข้อมูลเนื้อหาจากโสตทัศนวัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตัวเอง ทำให้เนื้อหา ข้อมูลปรากฏขึ้นบนจอรับภาพให้มองเห็นได้
ความสำคัญของเครื่องฉาย สื่อการสอนที่เห็นเป็นรูปธรรมได้แก่สื่อที่เป็นวัสดุและอุปกรณ์ สื่อวัสดุที่สามารถถ่ายทอดด้วยตัวเอง ได้แก่ รูปภาพ ของจริง ของจำลอง ฯลฯ และวัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยให้เนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อวัสดุนั้นปรากฏออกมาให้มองเห็นหรือได้ยิน เช่น แผ่นโปร่งใส ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ เทปวีดิทัศน์ ฯลฯ แต่หากเป็นสื่อวัสดุที่บรรจุเนื้อหาประเภทภาพและเสียงแล้ว จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ประเภทเครื่องฉายที่ถ่ายทอดเสียงออกทางลำโพง โดยจะช่วยในการขยายขนาดของภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเห็นได้อย่างชัดเจนทั่วทั้งห้อง ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว เพิ่มความน่าสนใจรวมถึงมีความสนุกและตื่นเต้นเร้าใจเพิ่มมากขึ้นด้วย
องค์ประกอบในการฉาย
2.1 เครื่องฉาย (Projector) ใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องมือในการถ่ายทอดเนื้อหาจากสื่อวัสดุ ปรากฏเป็นภาพหรือเสียงและภาพ ได้แก่ Over Head Projector, Slide Projector, Film Projector เป็นต้น
2.2 โสตทัศนวัสดุ (Materials) เนื่องจากเครื่องฉายจำเป็นต้องใช้ “แสง” ในการฉายภาพ ดังนั้นวัสดุที่ใช้ในการฉายจึงแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
2.1 วัสดุโปร่งแสง (Transparency) เป็นวัสดุที่ให้แสงผ่านได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ แผ่นโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
2.2 วัสดุกึ่งโปร่งแสง (Translucent) เป็นวัสดุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้บ้าง แต่จะกระจายกระจายแสงทำให้ความเข้มลดลงด้วย เช่น ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์
2.3 วัสดุทึบแสง (Opaque) เป็นวัสดุที่แสงผ่านไม่ได้ เช่น กระดาษ ของจริง ของตัวอย่าง เป็นต้น
วัสดุเหล่านี้จะต้องใช้กับเครื่องฉายที่มีระบบฉายแตกต่างกัน โดยต้องมีการบันทึกข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ภาพ หรือภาพและเสียง ลงบนวัสดุนั้นให้เรียบร้อยก่อนนำมาฉาย
2.3 จอรับภาพ (Screen) เป็นจอหรือฉากสำหรับรับภาพที่ฉายมาจากเครื่อง ให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยปกติจะเป็นจอที่มีพื้นผิวเคลือบด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี แต่หากไม่สามารถหาได้จริงก็อาจใช้ผนังห้องสีขาวเป็นจอรับภาพแทนได

ระบบฉาย เครื่องฉายต่างๆ สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ระบบ
1. ระบบฉายตรง (Direct projection)เป็นการฉายโดยให้แสงผ่านทะลุวัสดุฉายและเลนส์ฉายไปยังจอภาพในแนวเส้นตรง การใส่วัสดุต้องใส่ไว้หลังเลนส์ฉายในลักษณะตั้งฉากกับพื้น เหมือนกับภาพที่ปรากฏบนจอรับภาพ เนื่องจากเลนส์จะกลับภาพภาพที่ฉายออกไปเป็นด้านตรงข้าม ด้วยเหตุนี้จึงต้องใส่วัสดุฉายในลักษณะหัวกลับเสมอ


2. ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) เป็นการฉายโดยให้แสงจากหลอดฉายผ่านขึ้นไปยังเลนส์ฉาย โดยมีการหักเหของลำแสงผ่านวัสดุฉายไปยังจอรับภาพ การใส่วัสดุฉายในระบบฉายอ้อมคือ ต้องวางวัสดุฉายในแนวระนาบบนแท่นเครื่องฉาย โดยหันด้านหน้าขึ้นบนและริมล่างเข้าหาจอ


3. ระบบฉายสะท้อน (Reflected Projection) เป็นการฉายโดยให้หลอดฉายส่องตรงมายังวัสดุฉายก่อนแล้วจึงสะท้อนไปยังกระจกเงา ที่อยู่ด้านบนสุดของเครื่องสะท้อนแสงผ่านไปยังเลนส์ฉาย และส่องแสงปรากฏเป็นภาพบนจอรับภาพ การใส่วัสดุฉายในระบบฉายสะท้อนคือ ต้องวางวัสดุฉายตามลักษณะที่เป็นจริงในแนวระนาบบนแท่นวางของเครื่องฉาย

ภาพจาก สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทการจัดแสดง โสตทัศนูปกรณ์ประเภทนี้ ได้แก่ กระดานชอล์ค บอร์ดนิทรรศการ ป้ายนิเทศ บูธจัดนิทรรศการ ใช้ประกอบการนำเสนอเนื้อหาวิชา ด้วยการ ขีด-เขียน ปะติด จัดวาง ประดับตกแต่งให้มีความสวยงามตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้จัดทำ สามารถลงรายละเอียดปลีกย่อยในสิ่งที่นำเสนอ ส่วนใหญ่ออกแบบมาให้เคลื่อนย้ายได้ บางชนิดติดตรึงอยู่กับที่ในห้องแสดง เช่น ในห้องเรียน ห้องนิทรรศการชั่วคราว นิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑ์ ผู้ชมต้องเดินมาศึกษารายละเอียดด้วยตนเองยังสถานที่จัดแสดง





http://vdo.kku.ac.th/mediacenter/library/library.php?lang=th
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=148850

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สื่อการสอนประเภทโสตทัศนูปกรณ์

โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียนหรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูดการอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
สื่อการสอนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างประสบการณ์ทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียน สื่อการสอนมีให้เลือกมากชนิด สิ่งสำคัญคือผู้สอนจะต้องเลือกและใช้สื่อการสอนให้เหมาะกับบทเรียน สื่อการสอนนั้นจะต้องใช้ได้อย่างสะดวกและที่สำคัญก็คือเมื่อนำมาใช้แล้วช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
2. สร้างความสนใจและช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้ชม
3.ส่งเสริมลักษณะการเรียนรู้และความเข้าใจ
4.ช่วยเพิ่มช่องทางในการรับส่งข้อมูล
5.เอาชนะข้อจำกัดบางประการของข้อมูลในการนำเสนอ




ที่มา
https://sites.google.com
pineapple-eyes.snru.ac.th

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

เรียนรู้ เว็บบล็อควิชาเทคโนโลยีสำหรับครู

รายวิชา เทคโนโลยีการศึกษา ภาคการศึกษา 2553
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์สุจิตรา
นางชนรดา ชัยมงคล นักศึกษากศพช.รุ่น 11 สาขาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรปฐมวัย
ประวัติ
ชื่อ นางชนรดา ชัยมงคล ชื่อเล่น ดา เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2520
ที่อยู่ 70/1 หมู่3 ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
ที่ทำงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยนำหนัก หมู่ 6 ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวผึ้งจังหวัดราชบุรี
ประวัติการศึกษา ชั้นประถมและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เพชรบุรี
ชั้นปวช.จากวิทายาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ประสบการณ์การทำงาน เริ่มเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2542 จนถึงปัจจุบัน
เบอร์โทรศัพท์ 089-5483455 อีเมล chonrada25202@gmail.com

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ชนรดา ชัยมงคล

ชนรดา ชัยมงคล
ประวัติส่วนตัว
เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2520
บ้านเลขที่ 70/1 หมู่ 3 ต. ตะนาวศรี อ. สวนผึ้ง จ.ราชบุรี 70180
เบอร์โทรศัพท์ 0895483455 gmail chonrada2520